วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 4 ธรณีประวัติ

บทที่ 4ธรณีประวัติ

ข้อมูลทางธรณีวิทยาอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีต ที่นิยมใช้
มี 3 อย่าง ดังนี้
• อายุทางธรณีวิทยา
• ซากดึกดำบรรพ์
• ลำดับชั้นหิน

อายุทางธรณีวิทยา
1. อายุเทียบสัมพันธ์ คือ อายุเปรียบเทียบ หาได้โดยอาศัยข้อมูล
จากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุแล้วนำมาเปรียบเทียบกับ
ช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล จะบอกได้ว่าเป็นหิน
ในยุคไหนหรือมีช่วงอายุเป็นเท่าใด

2. อายุสัมบูรณ์ เป็นอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถบอก
เป็ นจำานวนปี ที่ค่อนข้างแน่นอน คำานวณจากครึ่งชีวิตของธาตุ
กัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน เช่น C-14, K-40, Rb-87, U-238 เป็นต้น
หินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้านปี เช่น หินแกรนิตบริเวณฝั่ง
ตะวันตกของเกาะภูเก็ต ซึึ่งเป็นหินต้นกำเนิดแร่ดีบุก จะใช้ Rb-87
ตะกอนหรือซากดึกดำาบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 70,000 ปี จะใช้วิธี
กัมมันตภาพรังสี C-14 เช่น ซากหอย-นางรมที่วัดเจดีย์หอย จังหวัด
ปทุมธานี

ซากดึกดำบรรพ์ (fossil)
• ซากดึกดำบรรพ์เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมอยู่ในชัั้นหิน
ตะกอนแล้วเปลี่ยนเป็นหิน
• ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดปรากฏให้เห็นเป็ นช่วงสั้นๆ ดังนั้น
สามารถใช้บอกอายุของหินที่มีซากนั้นอยู่ได้ ซากดึกดำบรรพ์
ประเภทนีี้เรียก ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
• ซากดึกดำาบรรพ์ดัชนี คือ ซากดึกดำาบรรพ์ที่บอกช่วงอายุได้
แน่นอน และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ นัก
ธรณีวิทยาจะนิยมใช้วิธีนี้หาอายุของหินตะกอน
• ประเทศไทยพบซากดำบรรพ์ดัชนี ไทรโลไบต์ บริเวณ
เกาะตะรุเตา แกรปโตไลต์ อำเภอฝาง เชียงใหม่ เป็นต้น




ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย
• มีการค้นพบซากไดโนเสาร์ บริเวณ อ.ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
เป็นไดโนเสาร์กินพืช บริเวณภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
• ซากดังกล่าวจะพบในหินทราย หินทรายแป้ ง ซึ่งเป็นหินชนิด
หนึ่งในหินตะกอน
• ซากดึกดำาบรรพ์พืชที่พบในไทย ได้แก่ ใบไม้ ละอองเรณู สปอร์
สาหร่ายทะเล และไม้กลายเป็นหิน
• ความเปลี่ยนแปลงของชนิดซากดึกดำบรรพ์สามารถนำมาจัดอายุ
ทางธรณีวิทยาได้ เรียกว่า “ธรณีกาล”(Geologic Time)

การลำดับชั้นหิน 
เนื่องจากชั้นหินเกิดจากการทับถมกันของตะกอน ดังนัั้น
หินตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะเกิดก่อน และหินที่อายุน้อย
กว่าจะซ้อนอยู่ด้านบนเป็ นชั้นๆ ตามลำาดับ
• การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี แผ่นดินไหว หรือ ภูเขาไฟระเบิด ทำาให้
ชั้นหินที่อยู่ในแนวราบเกิดการเอียงเท
• โครงสร้างทางธรณีวิทยาในชั้นหิน เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้ง
สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของพืื้นที่นัั้นได้




บทที่ 3 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

บทที่ 3  ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา
แผ่นดินไหว
• สาเหตุและกลไกในการเกิดแผ่นเดินไหว
– การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวระหว่างรอยต่อของแผ่นธรณี
ภาค
– ทำให้เกิดแรงพยายามกระทำต่อชั้นหินขนาดใหญ่ เพื่อจะทำให้ชั้น
หินนั้นแตกหัก
– ขณะชั้นหินยังไม่แตกหัก เกิดเป็นพลังงานศักย์ขึ้นที่ชั้นหินนั้น
– เมื่อแรงมีขนาดมากจนทำให้แผ่นหินแตกหัก จะเกิดการถ่ายโอน
พลังงานนั้นไปยังชั้นหินที่อยู่ติดกัน
– การถ่ายโอนพลังงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรูปของคลื่น แผ่
ออกไปทุกทิศทาง
– คลื่นที่แผ่จากจุดกำเนิดการสั่นสะเทือนขึ้นมายังเปลือกโลกได้
เรียกคลื่นนี้ว่า “คลื่นในตัวกลาง”
– อัตราเร็วในการแผ่ของคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นกับความยืดหยุ่นและความหนาแน่น
ของตัวกลาง
– เรียกจุดกำาเนิดการสั่นสะเทือนว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus)
– ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิด
แผ่นดินไหว (epicenter) ซึ่งจะมี “คลื่นพื้นผิว” กระจายออกไปตามแนวผิวโลก
– การระเบิดของภูเขาไฟอาจเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวได้
– การเคลื่อนตัวของแมกมาตามเส้นทางมายังปากปล่องภูเขาไฟ อาจทำให้เกิด
แผ่นดินไหวก่อนที่แมกมานั้นจะระเบิดออกมาเป็นลาวา
– การกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดินก็อาจจะเป็นสาเหตุของ
แผ่นดินไหว

คลื่นไหวสะเทือน
• คลื่นไหวสะเทือนมี 2 แบบ
1. คลื่นในตัวกลาง

 
คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave)

คลื่นพื้นผิว
1. คลื่นเลิฟ (L wave) เป็นคลื่นที่ทำใหัอนุภาคของต้วกลางสั่นในแนวราบ โดยมี
ทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่นสามารถทำให้ถนนขาดหรือแม่น้ำเปลี่ยน
ทิศทางการไหล  ทำให้อาคารที่ปลูกอยู่ด้านบนเกิดความเสียหาย


2. คลื่นเรย์ลี (R wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูป
วงรี ในแนวดิ่ง โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถทำให้พื้นผิว
แตกร้าว และเกิดเนินเขา


ไซโมกราฟ (seismo-graph)
เป็นเครื่องมือบันทึกข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวมีเป็นเครือข่ายทั่วโลก


บริเวณที่มักเกิดแผ่นดินไหว
– ตำแหน่งของศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค
– แนวรอยต่อสำคัญที่มักทำให้เกิดแผ่นดินไหวมี 3 แนว ได้แก่
1. แนวรอยต่อที่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว 80% ซึ่งมักจะ
รุนแรง เรียกบริเวณนี้ว่า “วงแหวนแห่งไฟ” (ring of fire)ไ ด้ แ ก่ ญี่ ปุุ่ น ฟิ ลิ ป ปิ น ส์
ตะวันตกของเม็กซิโก ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา


2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์และภูเขาหิมาลัย เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว 15% ได้แก่ พม่า
อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรป
3. แนวรอยต่อที่เหลือเป็นสาเหตุของอีก 5% ของแผ่นดินไหว ได้แก่ บริเวณสันกลางมหาสมุทร
ต่างๆ ได้แก่ บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติกแนวสันเขาในมหาสมุทรอินเดีย 
และแนวสันเขาในมหาสมุทรอาร์กติก

ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว
• ความรุนแรงของแผ่นดินไหว ขึ้นกับปริ มาณพลังงานที่
ปลดปล่อยออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
• ความรุนแรงของแผ่นดินไหว กำหนดจากผลกระทบหรือความ
เสียหายทีี่เกิดบนผิวโลก ณ จุดสังเกต
• หน่วยวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว คือ ริกเตอร์ (richter)
ตามชื่อของ (Charles F. Richter)
• น้อยกว่า 2.0 ริกเตอร์ เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก
• 6.0 ริกเตอร์ขึ้นไป จัดเป็นแผ่นดินไหวรุนแรง

มาตราเมอร์คัลลี
คือ มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 12 ระดับ
1. คนไม่รู้สึกสั่นไหว แต่เครื่องมือตรวจจับได้
2. คนในอาคารสูงรู้สึกได้
3. คนในอาคารแม้ไม่สูงรู้สึกได้
4. คนในอาคารและคนนอกอาคารบางส่วนรู้สึกได้ ของในอาคารสั่นไหว
5. รู้สึกได้ทุกคน ของขนาดเล็กมีการเคลื่อนที่
6. วัตถุขนาดใหญ่ในอาคารมีการเคลื่อนที่
7. อาคารมาตรฐานปานกลางเสียหายเล็กน้อย
8. อาคารที่ออกแบบพิเศษเสียหายเล็กน้อย อาคารมาตรฐานต่ำเสียหายมาก
9. อาคารที่ออกแบบพิเศษเสียหายชัดเจน แผ่นดินแยก
10. แผ่นดินแยกถล่ม โคลนทรายพุ่งขึ้นจากรอยแยก
11. ดินถล่มและเลื่อนไหล
12. ทุกสิ่งโดนทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น

แผ่นดินไหวในประเทศไทย
• พ.ศ. 1003 ที่เวียงโยนกทำาให้เวียงโยนกยุบจมลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่
• พ.ศ. 1077 ยอดเจดีย์หักลงสี่แห่ง
• พ.ศ. 2088 ที่นครเชียงใหม่ ยอดเจดีย์หลวงหักลงมา
• พ.ศ. 2506 มีแผ่นดินไหวรู้สึกได้ที่กรุงเทพมหานคร
• พ.ศ. 2518 ศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มี
แผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ ที่อำาเภอศรีสวัสด์ิ จังหวัดกาญจนบุรี
• พ.ศ. 2526 รู้สึกได้ในภาคกลางและเหนือ

รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) คือแนวรอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่เคลื่อนที่ได้ ในประเทศไทยมีรอย
เลื่อนที่อยู่บริเวณภาคเหนือ และด้านตะวันตกของประเทศคาบอุบัติซํ้า คื อ ระยะเวลา
ครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นมาก่อน อาจมีระยะเป็นพันปีหรือร้อยปี หรือน้อยกว่า

การปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว
1. คุมสติอย่าตื่นตระหนกเกินเหตุ หยุดการใช้ไฟฟ้า และไฟจากเตาแก๊ส
และควรมีไฟฉายประจำตัวอยู่ภายในบ้าน
2. ถ้าอยู่ภายในบ้าน ควรอยู่ห่างจากประตู หน้าต่าง กระจก และระเบียง
บ้าน ระวังอย่าให้ของใช้ในบ้านหล่นทับ โดยอาจมุดอยู่ใต้โต๊ะ
3. ถ้าอยู่ในตึกสูง ให้มุดลงไปใต้โต๊ะที่แข็งแรงเพื่อป้ องกันสิ่งของร่วง
หล่นใส่ อย่าวิิ่งออกไปภายนอก เพราะบันไดอาจพังลงได้ และห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด
4. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
5. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
6. เรียนรู้และติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวจากสื่อต่างๆ เพื่อ
เตรียมพร้อมและวางแผนเตรียมรับภัยจากแผ่นดินไหวได้อย่างมีสติและปลอดภัย
ภูเขาไฟ

• ภูเขาไฟที่ดับแล้วได้เกิดขึ้นมานานมากแล้วนับได้เป็นแสนล้านปี วัตถุที่
พ่นออกมาแข็งตัวกลายเป็นหินภูเขาไฟ
• ปัจจุบันทั่วโลกมีภูเขาไฟมีพลังอยู่ประมาณ 1,500 ลูก และกระจายอยู่ใน
บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีภาคโดยเฉพาะบริเวณวงแหวนแห่งไฟ
• การระเบิดของภูเขาไฟเกิดจากการประทุของแมกมา แก๊ส เถ้าจากใต้พื้นโลก
• ขณะระเบิดแมกมาจะขึึ้นมาตามปล่องภูเขาไฟ
• เมื่อหลุดออกมานอกภูเขาไฟจะเรียกแมกมานั้นว่า ลาวา (Lava) มีอุณหภูมิ 1200°C

การระเบิดของภูเขาไฟ

เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก
โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟ
ระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมา
จากปล่องภูเขาไฟ

หินอัคนี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
เย็นตัวบนผิวโลก           เย็นตัวใต้พื้นโลก
เย็นตัวเร็ว                     เย็นตัวช้า
เนื้อละเอียด                     เนืื้อหยาบ

หินแกรนิต เป็นหินอัคนีที่เกิดขึ้นในชั้นหินอื่น ดังนั้นอัตราการเย็นตัวลงจึง
ช้า เกิดการตกผลึกของแร่ได้มากสังเกตเห็นผลึกแร่ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
หินภูเขาไฟ
• ความพรุนของหิน ขึ้นอยูู่กับ อัตราการเย็นตัวของลาวา
• ตัวอย่างของหินจากภูเขาไฟ เช่น หินบะซอลต์ หินพัมมิซ หินแก้ว
หินทัฟฟ์ หินออบซีเดียน

หินบะซอลต์
• เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่ผิวโลก ดังนั้นจึงกระทบกับ
อากาศหรือน้ำส่งผลให้มีการเย็นตัวเร็วลักษณะของหินจะมีเม็ด
ละเอียดกว่าหินแกรนิต และมีรูพรุนเล็กน้อย
• เป็นต้นกำเนิดอัญมณีที่สำคัญ
• ถ้ามีปริมาณของ Si จะเป็นหินแอนดีไซด์
หินพัมมิซ
• เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวา ทำให้มีความ
พรุนสูง บางชิ้นลอยน้ำได้
• นำมาใช้เป็นหินขัดตัว

ภูมิลักษณ์ของภูเขาไฟ
1. ที่ราบสูงบะซอลต์ เกิดจากลาวาแผ่เป็นบริเวณกว้าง ทับถมกันหลายชั้นกลายเป็นที่ราบและเนินเขา
2. ภูเขาไฟรูปโล่ เกิดจากลาวาของหินบะซอลต์ระเบิดออกมาแบบมีท่อ
ปล่องภูเขาไฟเล็กๆ บนยอดจะจมลงไป เช่น ภูเขาไฟมัวนาลัว ในหมู่เกาะฮาวาย
3. ภูเขาไฟรูปกรวย เป็นรูปแบบภูเขาไฟที่สวยงามที่สุด เกิดจากการทับถม
สลับกันระหว่างการไหลของลาวา กับชิ้นส่วนภูเขาไฟ เช่น ภูเขาไฟฟูจิยามาอยู่ในประเทศญี่ปุ่น 
ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและภูเขาไฟมายอนอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์

ภูเขาไฟในประเทศไทย
• ประเทศไทยอยู่นอกเขตการมุดตัวของแผ่นธรณีภาค แต่เคยมีการระเบิดของภูเขาไฟมาก่อน บริเวณที่พบหินภูเขาไฟ ได้แก่จังหวัดลพบุรี กาญจนบุรี ตราด สระบุรี ลำปาง สุรินทร์ และศรีสะเกษ ภูเขาไฟที่สำรวจพบส่วนใหญ่มีรูปร่างไม่ชัดเจน ที่มีรูปร่างชัดเจนมากที่สุด ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัด
ลำปาง ภูเขาพระอังคารและ ภูเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ จะมีปากปล่องเหลือให้เห็นเป็นร่องรอย


บทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง

บทที่ 2  โลกและการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonic)
• เสนอโดย ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr.Alfred Wegener)
ชาวเยอรมัน
• ทฤษฎี : แต่เดิมแผ่นดินบนโลกเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย
(Pangaea) Pangaea แปลว่า “แผ่นดินทั้งหมด”


200 ล้านปี ก่อนพันเจียแยกออกเป็น 2 ทวีปใหญ่ ได้แก่ ลอเรเซีย
อยูู่ทางเหนือ ซึ่งมียุโรปติดอยูู่กับอเมริกาเหนือ และทวีปกอนด์วา
นาอยู่ทางใต้


• ต่อมากอนด์วานาแตกออกเป็น อินเดีย อเมริกาใต้และแอฟริกา
ส่วนออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา


65 ล้านปี ก่อนมหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้น ทำให้
แอฟริกาเคลื่อนตัวห่างออกจากอเมริกาใต้


• ต่อมายุโรปและอเมริกาเหนือแยกออกจากกัน โดยอเมริกาเหนือโค้งเข้า
เชื่อมกับอเมริกาใต้ และออสเตรเลียแยกออกจากแอนตาร์กติกา
•อินเดียเคลื่อนเข้ากับเอเซียเกิดเป็นภูเขาหิมาลัย

หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์
• รอยต่อของแผ่นธรณีภาค รูปร่างของทวีปบางทวีปเชื่อมต่อกันได้
พอดี เช่น ด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เชื่อมต่อด้านตะวันตก
ของทวีปแอฟริกาได้ดีสาเหตุที่ต่อกันไม่สมบูรณ์ มาจากการกัดเซาะชายฝั่ง และการสะสมของตะกอน
• ความคล้ายคลึงกันของกลุุ่มหิน และแนวภูเขา กลุ่มหินในอเมริกาใต้
แอนตาร์กติกา แอฟริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย เป็นหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัสถึงยุคจูแรสซิกเหมือนกัน


• หินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารนํ้าแข็ง
• ซากสัตว์ดึกดำาบรรพ์ มีการพบซากดึกดำาบรรพ์ 4 ประเภท คือ มี
โซซอรัส ลีสโทรซอรัส ไซโนกาทัส และกลอสโซพเทรีส ใน
ทวีปต่าง ๆ ที่เคยเป็นกอนด์วานา


หลักฐานอื่นๆ ที่สนับสนุนการเคลื่อนตัวของทวีป
• สันเขาใต้สมุทร และร่องลึกใต้สมุทร

• อายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร จากการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิ ก
แอตแลนติก และอินเดีย พบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดและ
รอยแยกบริเวณสันเขาใต้สมุทร
--ไกลรอยแยกอายุจะมากใกล้รอยแยกอายุจะน้อย--
• ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (ร่องรอยสนามแม่เหล็กโลกในอดีต)
ศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์


กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
• วงจรการพาความร้อน คือ กระบวนการที่สารร้อนภายในโลก
ไหลเวียนเป็นวงจร ทำให้เปลือกโลกกลางมหาสมุทรยกตัวขึ้น
• เมื่อสารร้อนไหลเวียนขึึ้นมาจะมีความหนาแน่นเพิิ่มขึึ้น และมุด
ลงบริเวณร่องลึกใต้สมุทร



แผ่นธรณีของโลก


ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค
1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน


เนื่องจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำาให้เกิด
รอยแตกในชั้นหินแข็ง เปลือกโลกตอนบนทรุ ดตัว
กลายเป็นหุบเขาทรุด เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตาม
รอยแยก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยก
ออกไปทั้งสองข้าง กระบวนการนีี้เรียกว่า การขยายตัวของ
พื้นทะเลและปรากฏเป็นเทือกเขากลางสมุทร เช่น บริเวณ
ทะเลแดง, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, กลางมหาสมุทรแอตแลนติก


2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 2 แบบ
• แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เกิดเป็นแนวภูเขา
ไฟกลางมหาสมุทร เช่น หมู่เกาะมาริอานาส์ อาทูเทียน มีลักษณะเป็นร่องใต้ทะเล
ลึก มีแนวการเกิดแผ่นดินไหว


• แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ทำให้แผ่นธรณี
ภาคใต้มหาสมุทรมุดลงใต้แผ่นธรณีภาค ภาคพืื้นทวีป เกิดรอยคดโค้งเป็ น
เทือกเขาบนแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่นที่อเมริกาใต้แถบตะวันตก แนว
ชายฝั่งโอเรกอนเป็นร่องใต้ทะเลลึก มีภูเขาไฟปะทุในส่วนที่เป็นแผ่นดิน เกิด
เป็นแนวภูเขาไฟชายฝัั่งเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง




• แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ส่วนหนึ่งมุดลง
อีกส่วนหนึ่งเกยกันอยู่เกิดเป็นเทือกเขาสูง เช่น เทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย
และเทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป



3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
เพราะแต่ละแผ่นธรณีภาคมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากันทำให้ไถล
เลื่อนผ่านมีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขา
กลางสมุทรและร่องใต้ทะเลลึก เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆ ใน
บริเวณภาคพื้นทวีป หรือมหาสมุทร เช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียสอยู่ใน
ประเทศสหรัฐอเมริกา รอยเลื่อนอัลไพน์อยู่ในประเทศนิวซีแลนด์




การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก

1. ชั้นหินคดโค้ง

คดโค้งรูปประทุน (anticline) และคดโค้งรูปประทุนหงาย (syncline)

2. รอยเลื่อน คือ ระนาบรอยแตกตัดผ่านหินซึ่งมีการเคลื่อนที่ผ่านกัน และ
หินจะเคลื่อนที่ตามระนาบรอยแตกนั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท

1. รอยเลื่อนปกติ


2. รอยเลื่อนย้อน






3. รอยเลื่อนตามแนวระดับ




บทที่ 1 โครงสร้างโลก

 บทที่ 1  โครงสร้างโลก
 
การแบ่งโครงสร้างโลกตามองค์ประกอบเคมี
• โลกมีอายุมาแล้วประมาณ 4600 ล้านปี
• โครงสร้างโลกแบ่งออกได้เป็ น 3 ชั้น ได้แก่
– เปลือกโลก (Crust)
– เนื้อโลก (Mantle)
– แก่นโลก (Core)


• ชัั้นเปลือกโลกประกอบด้วยเปลือกโลกภาคพืื้นทวีปและ
เปลือกโลกใต้มหาสมุทร มีความลึกตั้งแต่ 5 ถึง 70 กิโลเมตร

• ชั้นเนื้อโลกมีความลึกประมาณ 2900 กิโลเมตร องค์ประกอบ
ส่วนใหญ่เป็นของแข็ง

• ชั้นเนื้อโลกที่มีความลึก 100-350 กิโลเมตร เรียกว่า ชั้นฐาน
ธรณีภาค (asthenosphere) เป็ นชั้นของหินหลอมละลาย
เรียกว่า แมกมา

• ส่วนบนของชัั้นเนืื้อโลกกับชัั้นเปลือกโลกรวมเรียกว่า “ธรณี
ภาค” (lithosphere) มีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตร
 • ชั้นเนื้อโลกที่มีความลึก 350-2900 กิโลเมตร เป็นของแข็งร้อน มีความ
แน่นและหนืดมากกว่าตอนบนมีอุณหภูมิ 2250-4500 องศาเซลเซียส

• ชั้นแก่นโลก มีความลึกตั้งแต่ 2900 กิโลเมตรลงไป แบ่งออกเป็ นแก่น
โลกชั้นนอก มีความหนา 2900-5100 กิโลเมตร ประกอบด้วยเหล็กและ
นิกเกิลที่หลอมละลายเป็นของเหลว ส่วนแก่นโลกชั้นในก็ประกอบด้วย
เหล็กและนิกเกิลแต่เป็นของแข็ง เพราะมีความดันอุณหภูมิสูง โดยมี
อุณหภูมิสูงประมาณ 6000 องศาเซลเซียส


คลื่นในตัวกลาง (Body wave)
• คลื่นในตัวกลางเดินทางผ่านเข้าไปภายในของโลกผ่านไปยังพื้นผิวโลกที่
อยู่ซีกตรงข้าม มี 2 ลักษณะ คือ
1. คลื่นปฐมภูมิ (P wave)
2. คลื่นทุติยภูมิ (S wave)


คลื่นปฐมภูมิ (P wave)
• เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาค
ของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่น
ส่งผ่านไป
• เคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
• วัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น
• มีความเร็วประมาณ 6 – 8 km/s
• ทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน


คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
• เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความ
ไหวสะเทือนในตัวกลางโดย
อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้ง
ฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้ง
แนวตั้งและแนวนอน
• คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลาง
ที่เป็นของแข็งเท่านั้น
• ความเร็วประมาณ 3 –4 km/s
• ทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง

การแบ่งโครงสร้างโลกตามลักษณะกายภาพ
นักธรณีวิทยาแบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 5 ส่วน โดย
พิจารณาจากความเร็วของคลืื่น P และ S
1. ธรณีภาค (Lithosphere)
2. ฐานธรณีภาค (Asthenosphere)
3. เมโซสเฟี ยร์ (Mesosphere)
4. แก่นชั้นโลกนอก (Outer core)
5. แก่นโลกชั้นใน (Inner core)
 

1 ธรณีภาค คือ ประกอบด้วยเปลือกโลกทวีป และ เปลือกโลกมหาสมุทร คลื่น
P และ S เคลื่อนที่ช้าลงจนถึงแนวแบ่งเขตโมโฮวิซึ่งอยู่ที่ระดับลึกประมาณ
100 km

2. ฐานธรณีภาค อยูู่ใต้แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิกลงไปจนถึงระดับ 700 km เป็น
บริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มขึ้นตามระดับลึก แบ่งเป็น 2 เขต
– เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วต่ำา ที่ระดับลึก 100 - 400
กิโลเมตร P และ S มีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างไม่คงที่ เนื่องจากบริเวณนี้เป็น
ของแข็งเนืื้ออ่อน อุณหภูมิที่สูงมากทำให้แร่บางชนิดเกิดการหลอมตัว
เป็นหินหนืด
– เขตที่มีการเปลี่ยนแปลง อยู่บริเวณเนื้อโลกตอนบน ระดับลึก 400 - 700
กิโลเมตร P และ S มีความเร็วเพิ่มขึ้นมาก ในอัตราไม่
สม่ำเสมอ เนื่องจากบริเวณนี้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่
3. เมโซสเฟี ยร์ อยู่บริเวณเนื้อโลกชั้นล่าง ที่ความลึก 700 -
2,900 กิโลเมตร เป็ นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็ว
สม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นของแข็ง

4. แก่นชั้นโลกนอก ที่ระดับลึก 2,900 - 5,150 กิโลเมตร คลื่น P ลด
ความเร็วลงฉับพลัน ขณะที่ S ไม่ปรากฏ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณนี้
เป็นเหล็กหลอมละลาย

5. แก่นโลกชั้นใน ที่ระดับลึก 5,150 กิโลเมตร จนถึงความลึก 6,371
กิโลเมตร ที่จุดศูนย์กลางของโลก คลื่น P ทวีความเร็วขึ้น
เนื่องจากความกดดันแรงกดดันภายในทำให้เหล็กเปลี่ยนสถานะ
เป็นของแข็ง