กล้องโทรทรรศน์
คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง
เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น
กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ
ก็ได้
นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยาย
ไม่ถึง 30 เท่า
เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคย
เห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้อง
โทรทรรศน์ในที่สุด
กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง
กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงเป็นกล้องที่ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกันให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอี ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกโดยตัวกล้องจะมีเลนส์ 2 ตัวขึ้นไปคือ เลนส์วัตถุ และเลนส์ตา โดยเลนส์วัตถุจะทำหน้าที่รับภาพจากวัตถุ แล้วหักเหแสงไปยังเลนส์ใกล้ตา ซึ่งเลนส์ใกล้ตาจะทำหน้าที่ขยายภาพจากเลนส์วัตถุอีกทีหนึ่ง โดยลักษณะการวางเลนส์จะใช้เลนส์วัตถุที่มี ความยาวโฟกัส
ยาว และเลนส์ใกล้ตาที่มีความยาวโฟกัสสั้น โดยในการวางเลนส์
จะวางเลนส์วัตถุ (ความยาวโฟกัสยาว) ไว้ด้านหน้า และเลนส์ใกล้ตา
(ความยาวโฟกัสสั้น) ไว้ด้านหลัง โดยระยะห่างของเลนส์ 2 ตัวนี้คือ
ความยาวโฟกัสเลนส์วัตถุ + ความยาวโฟกัสเลนส์ตา เป็นต้น
สำหรับกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงของกาลิเลโอนั้น เลนส์วัตถุจะเป็นเลนส์นูน และเลนส์ตาจะเป็นจากเลนส์เว้า
ซึ่งข้อดีของการใช้ระบบเลนส์แบบนี้คือภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวตั้งโดยไม่ต้อง
ใช้อุปกรณ์อื่นมาช่วย
แต่ข้อเสียของการใช้เลนส์เว้าเป็นเลนส์ตาคือระบบกล้องจะมีมุมมองภาพที่แคบ
มาก ต่อมา โยฮันเนส เคปเลอร์ได้
ใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ตาของกล้องโทรทรรศน์แทน
ซึ่งทำให้ระบบกล้องโทรทรรศน์ให้ภาพกลับหัว และมีมุมมองภาพกว้างขึ้น
ระบบเลนส์แบบนี้ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อดีของกล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้คือเป็นกล้องที่สร้างได้ง่ายและมีราคา
เริ่มต้นที่ถูก
และเมื่อมีขนาดของหน้ากล้องหรือขนาดของเลนส์วัตถุเท่ากันกล้องชนิดนี้เป็น
กล้องชนิดที่สามารถให้แสงผ่านเข้าเลนส์ได้มากที่สุดเพราะไม่มีอะไรมาบังหน้า
กล้องอยู่ จึงทำให้แสงผ่านเข้ากล้องได้มากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว
อีกทั้งยังเก็บรักษาได้ง่ายเพราะเนื่องจากมีเลนส์ปิดหัวปิดท้ายกล้อง
ทำให้ความชื้นหรือฝุ่นไม่สามารถเข้าไปในกล้องได้โดยง่าย
จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับมือสมัครเล่นทั่วไป
แต่กล้องชนิดนี้หากมีหน้ากล้องที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้มีราคาแพงขึ้นจากกล้องชนิด
อื่นมาก และสามารถผลิตได้ขนาดหน้ากล้องเล็ก และ
เลนส์ที่มีคุณภาพไม่ดีมักจะมีความคลาดสีของเลนส์ เพราะดัชนีความหักเหของแสงไม่
เท่ากันทำให้แสงสีต่าง ๆ
มักมีจุดโฟกัสไม่เท่ากันและเกิดรุ้งบริเวณขอบภาพในที่สุด
วิธีการแก้ปัญหาในอดีตได้พยายามแก้ปัญหามานานแล้ว
โดยการเพิ่มความยาวโฟกัสเลนส์วัตถุจนทำให้มีความคลาดสีน้อยลงแต่ยุ่งยากมาก และไม่สะดวกเป็นอย่างยิ่ง
กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง
กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงสร้างได้สำเร็จครั้งแรกในปี ค.ศ. 1668 โดย ไอแซค นิวตันซึ่งในตอนนั้นถือเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับวงการดาราศาสตร์ในสมัยนั้น หลักการทำงานของกล้องสะท้อนแสงจะใช้กระจกเว้าสะท้อน
แสงแทนที่จะใช้เลนส์ในการหักเหแสง โดยยังมีหลักการที่คล้ายคลึงอยู่บ้างคือ
จะใช้กระจกเว้าที่มีความยาวโฟกัสยาว (เหมือนเลนส์วัตถุของกล้องหักเหแสง)
สะท้อนแสงจากวัตถุเข้าที่กระจกรองซึ่งจะสะท้อนแสงของวัตถุเข้าที่เลนส์ตาและ
เข้าตาของผู้ใช้ในที่สุด
โดยกล้องชนิดนี้มีข้อดีคือกล้องสามารถที่จะผลิตให้มีขนาดหน้ากล้องใหญ่มาก ๆ
ได้ซึ่งจะทำให้สำรวจวัตถุที่จางบนท้องฟ้าได้ดีขึ้น
และเมื่อเทียบกับกล้องหักเหแสงหากหน้ากล้องเท่ากันแล้วกล้องแบบสะท้อนแสงจะ
มีราคาถูกกว่ามาก
แต่ทั้งนี้ก็มีราคาเริ่มต้นที่ไม่ถูกนักเหมือนกับกล้องหักเหแสง
และกล้องชนิดนี้ยังสามารถใช้สำรวจช่วงคลื่นได้หลากหลายกว่ากล้องหักเหแสง
เพราะช่วงคลื่นเหล่านั้นจะไม่ถูกดูดซับโดยแก้วของเลนส์อีก
ทั้งยังไม่พบปัญหาเรื่องความคลาดสีของกล้องหักเหแสงออกไปจนหมดเพราะกล้องใช้
หลักการการสะท้อนจะไม่มีปัญหาเรื่องความคลาดสีเข้ามาเกี่ยวข้อง
แต่กล้องชนิดนี้มีข้อเสียคือตรงหน้ากล้องจะมีกระจกรองบังหน้ากล้องอยู่
(เพื่อสะท้อนแสงจากกระจกเว้าเข้าสู่เลนส์ตา)
จึงทำให้แสงผ่านเข้าได้น้อยลงและทำให้ภาพมืดลงด้วยด้วยสาเหตุนี่กล้องชนิด
สะท้อนแสงจะต้องมีขนาดหน้ากล้องใหญ่เพื่อชดเชยข้อเสียดังกล่าวและจะทำให้
ราคาแพงขึ้นด้วยแต่ถึงอย่างไรก็ดีผู้ศึกษามักจะนิยมใช้กล้องสะท้อนแสง
มากกว่ากล้องหักเหแสงเพราะมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อหน้ากล้องเท่ากันและสามารถ
เลือกซื้อกล้องที่มีหน้ากล้องใหญ่ ๆ ได้
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เอ็ดวิน ฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลไม่ได้เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวแรกของโลก แต่มันเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การศึกษาดาราศาสตร์ที่ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์สำคัญต่าง ๆ อย่างมากมาย กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาและองค์การอวกาศยุโรป โดยเป็นหนึ่งในโครงการหอดูดาวเอกขององค์การนาซาที่ประกอบด้วย กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีแกมมาคอมป์ตัน กล้องรังสีเอกซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์
ดาวเทียม
(อังกฤษ: satellite)
คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก
โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก
ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้
ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่างๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับสูงของดาวเทียมกับคาบวงโคจรรอบโลก
ความสูงจากผิวโลก (กิโลเมตร) |
ความเร็วในวงโคจร (กิโลเมตรต่อชั่วโมง) |
คาบเวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ |
160 1,609 35,786 |
28,102 25,416 11,052 |
1 ชั่วโมง 27.7 นาที 1 ชั่วโมง 57.5 นาที 24 ชั่วโมง |
ประเภทของดาวเทียม แบ่งเป็น 5 ชนิดคือ
- ดาวเทียมสื่อสาร
- ดาวเทียมสำรวจ
- ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ
- ดาวเทียมทางการทหาร
- ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์
ยานอวกาศ
คือพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานในอวกาศเหนือ
ผิวโลก ยานอวกาศนี้อาจเป็นได้ทั้งแบบมีคนบังคับหรือแบบไม่มีคนบังคับก็ได้
สำหรับภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การสื่อสารทั่วไป, การสำรวจโลก,
การทำเส้นทาง เป็นต้น บางทีคำว่ายานอวกาศนี้ยังใช้เรียกอธิบาย ดาวเทียม ได้ด้วยเช่นกัน
เชื้อเพลิงที่ใช้ในการส่งยานอวกาศเป็นเชื้อเพลิง
ในปี พ.ศ. 2446 ไชออลคอฟสกี (Tsiolkovaki) ชาวรัสเซีย
ค้นคว้าเกี่ยวกับเชื้อเพลิงสำหรับใช้ในเครื่องยนต์จรวด
เสนอว่าการใช้เชื้อเพลิงแข็งอย่างเดียวจะไม่มีแรงขับดันสูงพอที่จะนำยาน
อวกาศพ้นจากพื้นโลกขึ้นสู่อวกาศได้ ควรใช้เชื้อเพลิงเหลว
ซึ่งแยกเชื้อเพลิงและสารที่ช่วยในการเผาไหม้ออกจากกันการนำจรวดมาต่อเป็น
ชั้นๆ
จะช่วยลดมวลของจรวดลงเพราะว่าจรวดชั้นแรกใช้เชื้อเพลิงหมดก็ปลดทิ้งไป
และให้จรวดชั้นต่อไปทำหน้าที่ต่อ
จนถึงจรวดชั้นสุดท้ายที่ติดกับดาวเทียมหรือยานอวกาศ
จะมีความเร็วสุดท้ายพอที่จะเอาชนะแรงดึงดูดของโลกขึ้นสู่อวกาศได้
หลักการส่งยานอวกาศของไวออลคอฟสกีถือเป็นหลักการสำคัญในการเดินทางสู่อวกาศ
ในปี พ.ศ. 2469 โรเบิร์ต กอดดาร์ด (Robert Goddard) ชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จในการสร้างจรวดเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้ออกซิเจนเหลวเป้นสารที่ช่วยในการเผาไหม้อยู่ในถังหนึ่ง และไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงอยู่ในอีกถังหนึ่ง
ได้มีการพัฒนาจรวดเชื้อเพลิงเหลวมาเป็นลำดับ กระทั่งสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการใช้จรวดสามท่อนสำหรับส่งยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มีน้ำหนักมากขึ้นสู่อวกาศ เนื่องจากการแข่งขันกันระหว่างประเทศมหาอำนาจ
หลักการส่งยานอวกาศของไวออลคอฟสกีถือเป็นหลักการสำคัญในการเดินทางสู่อวกาศ
ในปี พ.ศ. 2469 โรเบิร์ต กอดดาร์ด (Robert Goddard) ชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จในการสร้างจรวดเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้ออกซิเจนเหลวเป้นสารที่ช่วยในการเผาไหม้อยู่ในถังหนึ่ง และไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงอยู่ในอีกถังหนึ่ง
ได้มีการพัฒนาจรวดเชื้อเพลิงเหลวมาเป็นลำดับ กระทั่งสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการใช้จรวดสามท่อนสำหรับส่งยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มีน้ำหนักมากขึ้นสู่อวกาศ เนื่องจากการแข่งขันกันระหว่างประเทศมหาอำนาจ
ระบบการขนส่งอวกาศ
ถูกพัฒนาและออกแบบให้สามารถนำชิ้นส่วนบางอย่างที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด
ระบบขนส่งอวกาศประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ถังเชื้อเพลิงภายนอกและยานขนส่งอวกาศ
มวลรวมเมื่อ ขึ้นจากฐานประมาณ 2,041,200 กิโลกรัม มวลเมื่อยานร่อนลงจอดประมาณ
96,163 กิโลกรัม
สถานีอวกาศนานาชาติ
(อังกฤษ: International Space Station; ISS) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก
การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998
และมีแผนดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2012
ขณะที่การปฏิบัติการจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2020
หรืออาจเป็นไปได้ถึงปี ค.ศ. 2028 เราสามารถมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลก เนื่องจากสถานีอวกาศแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ในระดับวงโคจรของโลก โดยมีมวลมากกว่าสถานีอวกาศใดๆที่มนุษย์เคยสร้างมาก่อนหน้านี้ทั้งหมด สถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่เป็นห้องทดลองวิจัยอย่างถาวรในอวกาศ ทำการทดลองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ชีววิทยา ชีววิทยามนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งต้องอาศัยการทดลองในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมากๆ
สถานีอวกาศแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ทดสอบสำหรับระบบกระสวยอวกาศที่มี
ประสิทธิภาพและเชื่อถือได้
ซึ่งจำเป็นต้องใช้สำหรับปฏิบัติการระยะยาวเพื่อการไปสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร การทดลองและการบริหารสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยคณะนักบินอวกาศซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในระยะยาว สถานีเริ่มปฏิบัติการนับแต่ลูกเรือถาวรคณะแรก คือ เอ็กซ์เพดิชั่น 1 ที่ไปถึงสถานีอวกาศตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 คณะลูกเรือชุด เอ็กซ์เพดิชั่น 28 อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่นับรวมแล้วปฏิบัติการนี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 10 ปี
และถือเป็นสถิติการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอวกาศโดยไม่ขาดความต่อเนื่องที่ยาว
นานที่สุดอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น